ซื้อบ้านหลังแรก กู้บ้านหลังแรก 2567 เริ่มต้นยังไงดี ?

บ้านหลังแรก

เชื่อว่าการ ซื้อบ้านหลังแรก เป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน แต่การที่จะ กู้บ้านหลังแรก ก็ดูจะเป็นเรื่องที่ชวนสับสนและซับซ้อนจนทำให้หลายคนรู้สึกถึงความยุ่งยากจนท้อใจ  สำหรับใครที่กำลังเตรียมตัวกู้บ้านหลังแรก 2567 แล้วยังมีข้อกังวลใจอยู่กับการเตรียมความพร้อม นี่คือขั้นตอนและคำแนะนำที่ควรปฏิบัติเพื่อให้การซื้อบ้านหลังแรกราบรื่นและผ่านไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน 1. สำรวจเครดิตของคุณ การซื้อบ้านหลังแรกโดยเฉพาะกู้ยืมนั้นจำเป็นต้องมีเครดิตที่ดี เริ่มต้นด้วยการตรวจเครดิตทางด้านการเงินของคุณ ประเมินและเช็กว่ามีอะไรติดขัดหรือไม่ หากมีจะได้รีบจัดการและทำการวางแผนเพื่อให้แน่ใจว่าพร้อมสำหรับการกู้บ้านหลังแรก 2. วางแผนการเงิน การกู้ซื้อบ้าน หมายถึงการที่คุณต้องมีเงินฝากเพื่อใช้เป็นเงินดาวน์ โดยทั่วไปแล้วการกู้ยืมบ้านย่อมต้องใช้เงินดาวน์ประมาณ 10-20% ของราคาบ้าน เพราะฉะนั้นการวางแผนการออมเงินเป็นสิ่งที่สำคัญมาก นอกจากนี้ควรสำรองเงินสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในอนาคตเมื่อกู้ซื้อบ้านหลังแรกผ่านแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ค่าปรับเปลี่ยน ค่าตกแต่ง ค่าขนย้าย หรือภาษีต่าง ๆ 3. ศึกษาเงื่อนไขการกู้ยืม ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสินเชื่อบ้านแต่ละประเภท หลักเกณฑ์และอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาเรื่องระยะเวลาการผ่อน และเงื่อนไขพิเศษที่อาจเป็นประโยชน์ 4. ประเมินการผ่อนชำระรายเดือน ควรคำนวณความสามารถในการชำระหนี้รายเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าคุณสามารถรับมือได้โดยไม่มีปัญหา ทางที่ดีควรชำระหนี้รวมทั้งหมดไม่เกิน 40% ของรายได้รวม 5. เตรียมเอกสารให้พร้อม เตรียมเอกสารทั้งหมดที่สถาบันการเงินต้องการ เช่น สำเนาบัตรประชาชน สลิปเงินเดือน เอกสารการเสียภาษี […]

ผ่อนบ้านไม่ไหว ต้องทำยังไงให้สามารถประนอมหนี้กับธนาคารได้

ผ่อนบ้านไม่ไหว

ด้วยเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก บวกกับปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ทั้งโรคระบาด การเมือง พฤติกรรมผู้คน ส่งผลให้อาชีพการงานของคนจำนวนไม่น้อยสั่นคลอน ยังไม่นับรวมกับหนี้สินอื่นรอบตัวจนบางรายอาจกำลังเผชิญปัญหา “ผ่อนบ้านไม่ไหว” แต่ก็ไม่อยากให้บ้านหลุดมือไป คำถามที่ตามมาย่อมหนีไม่พ้นจะสามารถประนอมหนี้กับทางธนาคารอย่างไรได้บ้าง ลองหาคำตอบแล้วปรับใช้กันเลย วิธีประนอมนี้กับธนาคารเมื่อรู้ว่าตนเองกำลังผ่อนบ้านไม่ไหว 1. ขอผ่อนชำระต่ำกว่ายอดปกติ วิธีนี้มีเงื่อนไขคือยอดเงินต้นชำระเดือนดังกล่าวต้องสูงกว่ายอดดอกเบี้ยต่อเดือนขั้นต่ำ 500 บาท และขอทำได้แค่ครั้งเดียว มีระยะเวลาผ่อนต่ำกว่ายอดเดิมได้ไม่เกิน 2 ปี เหมาะกับคนที่มีปัญหาขัดสนด้านรายรับในช่วงเวลาหนึ่ง หรือมีรายจ่ายในช่วงนั้นสูงกว่าปกติ 2. ขอลดดอกเบี้ย วิธียอดฮิตสำหรับคนมีปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว ส่วนใหญ่มักผ่านช่วง 3 ปีแรกไปแล้วเจอกับปัญหาดอกลอยตัว เนื่องจากไม่ได้มีการรีเทนชั่นหรือไฟแนนซ์บ้าน (บางคนทำแล้วแต่ไม่ผ่าน) เหมาะกับสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยผ่อนบ้านพุ่งสูงจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ 3. ขอขยายเวลาชำระหนี้ อธิบายง่าย ๆ ก็คือการขอยืดเวลาชำระหนี้ออกไปตามที่ธนาคารมองเห็นว่าเหมาะสม เช่น เดิมจะผ่อนหมดตอนอายุ 55 ปี ก็ขอยืดเพิ่มเป็นหมดตอนอายุ 60 ปี วิธีนี้ช่วยให้ยอดในการผ่อนบ้านต่อเดือนลดลงแม้ดอกเบี้ยจะจ่ายเพิ่มมากขึ้นเมื่อคำนวณตามระยะเวลาการผ่อนรวมทั้งหมด ทั้งนี้การขอขยายเวลาชำระหนี้สามารถยืดระยะเวลาออกไปได้จนถึงอายุ 70 ปี (ขึ้นอยู่กับการประเมินของธนาคารแต่ละแห่ง) 4. ขอผ่อนผันการค้างชำระ เป็นลักษณะของการพูดคุยกับธนาคารเพื่อขอผ่อนผันการชำระหนี้ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่มักแบ่งออกเป็น […]

ฟรีแลนซ์กู้ซื้อบ้าน ต้องทำยังไงให้มีโอกาสผ่านฉลุยจากธนาคาร

บ้านหลังแรก

ในยุคที่หลายคนหันมาทำอาชีพฟรีแลนซ์ หรืออาชีพอิสระกันมากขึ้น หนึ่งในปัญหาใหญ่ที่มักพบเจอนั่นคือการขอสินเชื่อกับธนาคาร ด้วยอาชีพลักษณะนี้จะไม่ได้มีเงินเดือนหรือรายได้ตายตัว ทำให้ธนาคารกังวลเรื่องของการผ่อนชำระ อย่างไรก็ตามหากคุณกำลังประกอบอาชีพดังกล่าวและอยู่ในสถานะของ “ฟรีแลนซ์กู้ซื้อบ้าน” นี่คือคำแนะนำที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการกู้บ้านให้ผ่านฉลุย ฟรีแลนซ์กู้ซื้อบ้าน ทำยังไงให้มีโอกานผ่านอนุมัติจากธนาคาร 1. รายการเดินบัญชีธนาคารสำคัญมาก แม้ไม่มีรายได้แบบเงินเดือนเหมือนพนักงานประจำแต่ฟรีแลนซ์สามารถทำรายการเดินบัญชีให้ดูสวยงามได้ด้วยการเลือก 1 บัญชีสำหรับการรับเงินจากลูกค้า และแนะนำให้มีการถอนออกในแต่ละเดือนเท่าที่จำเป็น เช่น แยกบัญชีใช้จ่ายเอาไว้ เมื่อถึงสิ้นเดือนก็ถอนเงินจากบัญชีรับเงินออกมาเป็นก้อน ที่สำคัญต้องมีเงินติดบัญชีรับเงินเอาไว้ตลอดเพื่อให้ธนาคารเห็นว่าคุณมีรายได้และรายจ่ายเพียงพอสำหรับการผ่อนบ้าน ซึ่งปกติธนาคารมักข้อดู Statement ย้อนหลังประมาณ 6-12 เดือน 2. ยื่นภาษีถูกต้องตามกฎหมาย การเป็นฟรีแลนซ์กู้ซื้อบ้าน ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้มีโอกาสกู้ผ่านนั่นคือต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีให้ถูกต้องตามกฎหมาย จากนั้นก็นำหลักฐานการยื่นอย่างใบเสร็จรับเงินมายืนยันว่าแต่ละปีคุณมีรายได้รวมเท่าไหร่ ยิ่งรายได้เยอะ จ่ายภาษีเยอะ การกู้ซื้อบ้านของฟรีแลนซ์จะง่ายขึ้นอีกหลายเท่า 3. ไม่มีประวัติเสียทางการเงิน ข้อนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน ยิ่งเป็นฟรีแลนซ์กู้ซื้อบ้านที่ไม่ได้มีรายได้ประจำด้วยแล้ว ประวัติทางการเงินของคุณต้องขาวสะอาด ไม่เคยติดเครดิตบูโร ไม่เคยมีหนี้เสีย หนี้สินค้างชำระ หนี้ชำระล่าช้าใด ๆ เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต รถยนต์ หรือการผ่อนชำระอื่น ๆ หากประวัติเครดิตบูโรดี การยื่นขอกู้ซื้อบ้านจะได้รับการพิจารณาง่ายขึ้นกว่าเดิม 4. ทำการกู้ร่วมกับคนมีรายได้ประจำ หากพยายามแล้วธนาคารก็ยังไม่อนุมัติ หรือรายได้ของฟรีแลนซ์ไม่ได้สูงมาก มีรายได้ไม่แน่นอนในแต่ละเดือน แนะนำให้กู้ซื้อบ้านร่วมกับคนที่มีรายได้ประจำ […]